คำถามที่พบบ่อย
คำถาม : อำนาจหน้าที่รับผิดชอบ
ให้คำปรึกษา แนะนำ บริการข้อมูลด้านการลงทุน กฏ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง แก่นักลงทุนและผู้สนใจทั่วไป
บริการแนะนำการยื่นขอรับการการส่งเสริมการลงทุน
เผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานของสำนักงาน หน่วยงานราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับนักลงทุน
ต้อนรับและจัดบรรยายสรุปแก่นักลงทุน
บริการจับคู่ร่วมทุน- บริการหลังได้รับการส่งเสริมการลงทุน
มอบบัตรส่งเสริมแก่ผู้ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน
อำนวยความสะดวกการใช้บริการสิทธิประโยชน์ด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์
อำนวยความสะดวกการใช้บริการสิทธิประโยชน์ด้านวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น
อำนวยความสะดวกสิทธิประโยชน์การใช้บริการด้านช่างฝีมือและผู้ชำนาญ การต่างด้าว
ตรวจเริ่มงาน และการอนุญาตให้ขยายเวลาเริ่มงานตามโครงการ
ตรวจเปิดดำเนินการตามโครงการ
ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุน
คำถาม : แนวคิดการส่งเสริมการลงทุนตามนโยบายใหม่เป็นอย่างไร
แนวคิดตามนโยบายใหม่ คือ การเปลี่ยนรูปแบบการส่งเสริมการลงทุนจากการให้สิทธิประโยชน์ตามเกณฑ์ที่ตั้ง (Zone Based) ซึ่งให้สิทธิประโยชน์ตามหลักที่ว่า โครงการที่ตั้งอยู่ในที่ไกลจากส่วนกลางจะได้สิทธิประโยชน์มากกว่าโครงการที่อยู่ใกล้ (Zone 1,2,3) เป็นการให้สิทธิประโยชน์ตามกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ (Activity & Merit Based) ซึ่งจะให้สิทธิประโยชน์มากหรือน้อยตามความสำคัญของกิจกรรมต่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ความจำเป็นต้องให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุน และให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ โดยไม่คำนึงถึงพื้นที่ตั้งของโครงการ ยกตัวอย่างเช่น โครงการผลิตหม้อหุงข้าว ตามนโยบายเดิม หากตั้งในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน จะได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี (แบบจำกัดวงเงิน) หรือเทียบเท่ากลุ่ม A2 แต่หากใช้เกณฑ์นโยบายใหม่ จะอยู่ในกลุ่ม B1 คือไม่ได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เลย แม้จะตั้งอยู่ไกลถึงจังหวัดลำพูน
คำถาม : หากรายงาน ตส.310 ไม่ทัน 31 ก.ค. จะทำอย่างไร
โครงการที่เปิดดำเนินการแล้วจะต้องรายงาน ตส.310 ถึงแม้ว่าจะเลย 31 ก.ค.ไปแล้วก็ตาม พร้อมทั้งทำหนังสือชี้แจงเหตุผลที่ส่งรายงานเกินกำหนดเวลา
คำถาม : BOI มีการจัดสัมมนาให้แก่ผู้ที่ได้รับการส่งเสริมหรือไม่
สมาคมสโมสรนักลงทุน (IC) มีหลักสูตรฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติภายหลังจากการได้รับ การส่งเสริมการลงทุน สามารถติดต่อได้ที่สมาคมฯ (โทรศัพท์: 0 2936 1429) นอกจากนั้นสมาคมฯ ยังมีการจัดสัมมนาเรื่อง “การขอรับการส่งเสริมการลงทุนไม่ยากอย่าง ที่คิด” ปีละ 2 ครั้ง สำหรับผู้ประกอบการที่ยังไม่เคยขอรับการส่งเสริมฯ
คำถาม : บริษัทที่ได้รับการส่งเสริม จะสามารถซื้อเครื่องจักรต่อจากบริษัทอื่นที่นำเข้ามาแล้วได้หรือไม่
ต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมว่าเครื่องจักรที่ไปซื้อต่อนั้นได้ใช้ผลิตสินค้าในประเทศแล้วหรือไม่ หากมี การใช้งานดังกล่าวแล้ว เข้าข่ายเป็นการใช้เครื่องจักรเก่าในประเทศ ไม่สามารถนำมาขอส่งเสริมได้
คำถาม : สามารถย้ายเครื่องจักรจากโรงงานเก่าไปโครงการใหม่ที่จะขอรับการส่งเสริมได้หรือไม่
ไม่สามารถทำได้ เข้าข่ายเป็นโครงการสวมสิทธิ์ กล่าวคือ นำเครื่องจักรและอุปกรณ์จาก โครงการที่เคยได้รับสิทธิและประโยชน์ทางภาษีเงินได้นิติบุคคลไปใช้ซ้ำ โดยโครงการลงทุน ใหม่ไม่มีการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นของตนเอง ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การ อนุมัติให้ส่งเสริม(สำหรับอาคารไม่จำเป็นต้องก่อสร้างใหม่ โครงการใหม่สามารถใช้อาคาร ร่วมกับส่วนเดิมได้)
คำถาม : เครื่องจักรเก่ามือสองภายในประเทศ สามารถใช้ในโครงการได้หรือไม่
ไม่สามารถใช้ได้ เนื่องจากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การอนุมัติให้ส่งเสริม
คำถาม : การกำหนดประเภทกิจการและสิทธิประโยชน์ มีรูปแบบอย่างไร
การกำหนดประเภทกิจการ ได้คำนึงถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ เช่น ระดับเทคโนโลยี ความยากง่ายในการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่วัตถุดิบและชิ้นส่วนในประเทศ เป็นต้น รวมถึงมีการใส่เงื่อนไขเพิ่มเติม เพื่อเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีสูง เช่น กิจการบางประเภทจะให้การส่งเสริมได้ต้องมีขั้นตอนการออกแบบ ต้องมีกรรมวิธีการผลิตเฉพาะ หรือต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะ (spec) ตามที่กำหนด เป็นต้น จากนั้นจะกำหนดให้สิทธิและประโยชน์ต่างๆ เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น เป็นกลุ่มตามระดับความสาคัญของกิจกรรม โดยแบ่งเป็นกลุ่ม A1 (8 ปี ไม่จำกัดวงเงิน) กลุ่ม A2 (8 ปี จำกัดวงเงิน) กลุ่ม A3 (5 ปีจำกัดวงเงิน) กลุ่ม A4 (3 ปี จำกัดวงเงิน) กลุ่ม B1 (0 ปี แต่ให้เฉพาะยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร) และกลุ่ม B2 (0 ปี ให้สิทธิเฉพาะช่างฝีมือ และถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน)
โดยภาพรวมแล้ว นโยบายใหม่นี้จะให้สิทธิประโยชน์แบบมีเป้าหมายมากขึ้น มีการปรับลดสิทธิประโยชน์พื้นฐาน และให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเมื่อทำ MERIT เพื่อผลักดันให้ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ โดยกิจการที่ให้การส่งเสริมส่วนมากจะได้สิทธิและประโยชน์ในกลุ่ม B1 (0 ปี) ถึง A4 (3 ปี) ยกเว้น กิจการที่มีความสำคัญต่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีและองค์ความรู้ เป็นต้น ถึงจะได้ในกลุ่ม A3, A2, A1
คำถาม : กิจการโรงแรม คนต่างชาติสามารถถือหุ้นข้างมากได้หรือไม่
กิจการโรงแรมอยู่ในบัญชีสามท้าย พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งตามปกติต้องมี หุ้นไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ยกเว้นหากได้รับการส่งเสริมการลงทุน หรือได้รับอนุญาตจากอธิบดี กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ต่างชาติจะสามารถถือหุ้นเกินกว่ากึ่งหนึ่งได้
คำถาม : กิจการใดบ้างที่ต่างชาติไม่สามารถถือหุ้นข้างมากได้
กิจการในสามบัญชีท้ายพ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว คนต่างด้าวถือหุ้นได้ไม่เกินร้อย ละ 51 ยกเว้นกิจการในบัญชีสอง ถ้าหากได้รับอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า คนต่างด้าวจะถือ หุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 60 แต่หากได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี จะถือหุ้นได้ถึงร้อยละ 75 ส่วนในบัญชี สาม หากได้รับอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะสามารถถือหุ้นเกินกว่ากึ่งหนึ่ง หรือถือหุ้น ทั้งสิ้นได้ (แต่ถ้าได้รับการส่งเสริมการลงทุน จะสามารถถือหุ้นทั้งสิ้นได้ทั้งบัญชีสองและสาม)
คำถาม : การยกเลิกบัตรส่งเสริมฯมีขั้นตอนอย่างไร
จะต้องสำรวจดูว่าบริษัทตัดบัญชีเครื่องจักรและวัตถุดิบเสร็จสิ้นหรือยัง ถ้าดำเนินการเสร็จสิ้น แล้ว สามารถทำเรื่องขอยกเลิกบัตรส่งเสริมได้ โดยมีหนังสือของบริษัทชี้แจงรายละเอียดมาที่ สำนักงานฯ
คำถาม : หากสิทธิประโยชน์ที่ได้หมดแล้ว จะสามารถขอขยายระยะเวลาได้อีกหรือไม่
สิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่สามารถขอขยายเวลาได้ ในขณะที่สิทธิประโยชน์ ลดหย่อนหรือยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรสามารถขอขยายเวลาได้อีก 3 ครั้งๆ ละไม่เกิน 1 ปี และ ปัจจุบันสิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบที่ผลิตเพื่อการส่งออกสามารถขอขยายเวลา ได้ ครั้งละ 2 ปี สำหรับสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีสามารถใช้ได้ตลอด จนกว่าบริษัทจะเลิก กิจการหรือยกเลิกโครงการ